วางแผนก่อนสร้างบ้าน

การที่เราจะสร้างบ้านให้ดีนั้น ควรจะมีการวางแผนการก่อสร้างให้พร้อมและรัดกุม การออกแบบบ้านชั้นเดียวให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดค่าใช้จ่าย ดังนั้นการสร้างบ้านในปัจจุบันนี้จึงมีการนำเทคนิคการก่อสร้างต่าง ๆ มาประยุคต์ใช้ในการก่อสร้างบ้านให้ประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด

-. การวางผังบ้านให้ถูกทิศ
-. การออกแบบรูปทรงบ้านให้เหมาะสม
-. ปลูกต้นไม้ช่วยบังแดดในบริเวณบ้าน
-. เลือกใช้วัสดุมุงหลังคากันความร้อน
-. ติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อนในจุดที่รับความร้อน
-. ใช้หน้าต่างประเภทกันความร้อนได้
-. พื้นและวัสดุที่ใช้ปูพื้นควรยกสูงและยกพื้นใต้ถุนให้สูงโปร่ง
-. ลานบ้านในทิศทางลมพัดเข้าบ้าน
-. เลือกสีทาบ้านให้เหมาะสมควรใช้สีอ่อน

การใช้ฉนวนกันความร้อนรอบ ๆ ตัวบ้าน ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าในบ้านโดยสร้างเกาะป้องกันความร้อนในส่วนต่างๆ ของตัวบ้าน ดังนี้

-. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา
-. พ่นละอองน้ำบนหลังคา เพื่อลดอุณหภูมิหลังคา ทำให้บ้านเย็น
-. ติดตั้งช่องระบายอากาศใต้หลังคา
-. ใช้ผนังที่ออกแบบมาเพื่อกันความร้อนจากภายนอก
-. ใช้พื้นที่ติดฉนวนเพื่อป้องกันความร้อนจากด้านล่าง
-. ใช้กระจกตัดแสง
-. ใช้ประตูที่มีการเสริมฉนวนกันความร้อน

หลักการสร้างบ้านให้เย็น
การจะทำให้บ้านเย็นนั้น จะต้องมีการสร้างเกราะป้องกันความร้อนด้วยฉนวนกันความร้อนรอบๆตัวบ้านก่อน โดยมีวิธีป้องกันความร้อนจากภายนอกในส่วนต่างๆ ของบ้าน ดังนี้
หลังคา ติดตั้งระบบพ่นฝอยละอองน้ำหลังคา ระบบนี้จะมีอุปกรณ์พ่นฝอยละอองน้ำอยู่เหนือหลังคา เมื่อแดดร้อนสามารถเปิดระบบให้พ่นฝอยละอองน้ำ ซึ่งการระเหยของน้ำจะช่วยดูดความร้อนจากแผ่นมุงหลังคาให้เย็นลงได้ทำให้บ้านเย็น ซึ่งมีผู้วิจัยพบว่าจะช่วยลดอุณหภูมิหลังคาจาก 60-65 องศาเซลเชียสได้ถึง 23 องศาเซลเซียส
ช่องใต้หลังคา เพื่อระบายความร้อนจากแผ่นหลังคาออกไปโดยการทำช่องระบายอากาศใต้ชายคา หรือที่จั่วหลังคาหรือติดตั้งเครื่องระบบระบายกาศโดยอาศัยพลังลมที่หลังคา
เลือกสีหลังคา ให้เลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่มีสีขาวหรือสีอ่อน เพราะจะช่วยสะท้อนความร้อนได้มากกว่าสีดำหรือสีเข้มถึง 30-80% หรือเคลือบหลังคาด้วยสีซีรามิกจะช่วยสะท้อนความร้อน ทำให้ลดอุณหภูมิหลังคาจาก 60 องศาเซลเซียส ลงไปถึง 30-40 องศาเซลเซียส แต่การใช้สีซีรามิก จะต้องทำความสะอาดฝุ่นบนหลังคาเสมอ เพื่อคงปริสิทธิภาพการสะท้อนความร้อน แต่ถ้าเลือกใช้กระเบื้องโมเนีย เป็นวัสดุมุงหลังคาแล้ว เจ้าของบ้านไม่ควรทาสีซีรามิกอีก
ฉนวนกันความร้อน ใช้อะลูมิเนียมฟลอยด์มุงใต้หลังคาสามารถสะท้อนความร้อนได้ 90% ช่วยกันความร้อนจากช่องใต้หลังคาสู่อีกห้อง แต่ต้องระวังเรื่องฝุ่นที่จะมาเกาะตามผิวหน้าแผ่นอะลูมิเนียมฟลอยด์ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง เช่น ใยแก้ว เยื่อกระดาษ EPS
พื้น เรามักจะไม่สนใจเรื่องการติดตั้งฉนวนที่พื้น ปกติบ้านจะมีหลายห้อง ห้องบางห้องจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เช่น ห้องนอนชั้นบน ถ้าพื้นห้องที่ติดเครื่องปรับอากาศไม่มีฉนวน ความเย็นจากห้องที่ปรับอากาศก็จะหนีหายไป ทำให้ห้องไม่เย็นหรือเปลืองค่าไฟฟ้า
ดังนั้น ควรเลือกใช้พื้นเป็นคอนกรีต ที่มีโพรงอากาศอยู่ภายใน เพราะอากาศในที่ปิดล้อมจะมีคุณสมบัติขึ้นเป็นฉนวนที่ดี จึงป้องกันความร้อนผ่านทางพื้นได้ดีกว่าบ้านอื่นทั่วไป หรือปูใต้พื้นด้วยฉนวนก็จะช่วยได้มาก
ผนัง มีส่วนในการนำความร้อนเข้ามาในบ้านได้มาก การเลือกใช้ผนังที่มีการออกแบบเพื่อป้องกันความร้อน จะทำให้บ้านลดการใช้พลังงานได้มากขึ้น เช่น ผนัง Steelcon ที่มีการออกแบบให้มีฉนวนตรงกลางระหว่างชั้นคอนกรีตเสริมเหล็กภายนอก 2 ชั้น มีประสิทธิภาพดีกว่าผนังอิฐมอญ 10 เท่า ดีกว่าอิฐมวลเบา 3 เท่า และยังแข็งแรงกว่า 2-3 เท่า เพราะเป็นผนังชนิดเดียวที่เสริมเหล็ก